การปูกระเบื้องในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความถนัดของช่าง แต่ว่าวิธีที่ได้รับความนิยมและเป็นวิธีที่ได้มาตรฐานที่สุดนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดกระเบื้องให้แน่น คงทน ลดโอกาสการหลุดร่อนได้มากกว่า การติดกระเบื้องจะมีกี่วิธี และมีข้อดี ข้อเสียต่างกันยังไงนั้น สามารถดูได้จากเนื้อหาต่อไปนี้เลย
การปูกระเบื้องแบบกาวซีเมนต์ด้วยเกรียงร่องหวี
การปูกระเบื้องแบบกาวซีเมนต์หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กาวกระเบื้อง” เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน โดยการใช้กาวซีเมนต์เป็นวัสดุสำหรับยึดติดกระเบื้องกับพื้นหรือผนัง วิธีนี้เหมาะสำหรับกระเบื้องทุกขนาดมีขั้นการปู ดังนี้
ขั้นตอนการปู
- เตรียมพื้นผิว บริเวณที่ต้องการปูกระเบื้องโดยการทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่น คราบน้ำมัน หรือสิ่งสกปรก
- ผสมปูนจิงโจ้ กาวซีเมนต์ ตามประเภทงานที่ต้องการ ให้ได้ความหนืดที่เหมาะสม (ผสมตามสัดส่วนที่ระบุด้านหลังถุง)
- ใช้เกรียงร่องหวีตักปูนแล้วปาดลงบนพื้นผิวพื้นและกระเบื้อง โดยให้แนวร่องหวีเป็นแนวเดียวกัน
- วางกระเบื้องลงบนบริเวณพื้นที่ปาดปูนไว้และกดเบา ๆ เพื่อให้กระเบื้องแนบสนิทกับปูน
- ใช้ค้อนยางเคาะเบา ๆ เพื่อปรับระดับในเป็นในระนาบเดียวกับแผ่นอื่นๆ
- เช็ดปูนส่วนเกินออกและเว้นร่องยาแนวตามต้องการ
แนะนำให้ใช้จิงโจ้ กาวซีเมนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติการยึดเกาะสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทำให้การติดกระเบื้องมั่นคงและแข็งแรงขึ้น มีให้เลือก 5 สูตร ได้มาตรฐาน มอก. 2703-2556
- จิงโจ้ 2อิน1 ก่อและกาว สำหรับงานก่ออิฐมวลเบาโดยเฉพาะ แต่ด้วยคุณสมบัติความเหนียวแน่น ทำให้สามารถใช้กับงานกาวติดกระเบื้องได้ด้วย เหมาะกับงานกระเบื้องพื้นภายใน ติดได้แผ่นใหญ่สูงสุด 60×60 ซม.
- จิงโจ้ฟ้า กาวซีเมนต์ สำหรับติดกระเบื้องเบื้องพื้นผนัง ภายใน ติดได้แผ่นใหญ่สูงสุด 60×60 ซม.
- จิงโจ้เขียว กาวซีเมนต์ สำหรับติดกระเบื้องพื้น-ผนัง ภายใน-ภายนอก ติดกระเบื้องขนาดใหญ่สุด 90×90 ซม. มีคุณสมบัติการยึดเกาะสูง
- จิงโจ้แดง กาวซีเมนต์ สำหรับงานกระเบื้องสระว่ายน้ำ ห้องน้ำ ห้องครัว ระเบียง โดยเฉพาะเป็นสูตรทนน้ำ ทนคลอรีน ทนน้ำเกลือ มีคุณสมบัติค่ายึดเกาะสูง ติดแน่นทนทาน ติดได้แผ่นใหญ่สูงสุด 100×100 ซม.
- จิงโจ้ทอง กาวซีเมนต์ สำหรับงานกระเบื้องแผ่นใหญ่พิเศษ โดยสามารถติดได้ทั้งพื้นและผนัง ภายใน ภายนอก ติดได้ทุกพื้นผิวผนัง ด้วยคุณสมบัติค่ายึดเกาะสูงพิเศษ ทำให้สามารถติดทับกระเบื้องเดิมได้โดยไม่ต้องรื้อกระเบื้องเดิมออก ติดได้แผ่นใหญ่พิเศษ 100×100 ซม. ขึ้นไป
ข้อดี :
- มีขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการติดตั้ง
- เนื้อปูนกระจายตัวได้เต็มแผ่นที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีการปูกระเบื้องทั้งหมด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะ กระเบื้องจะติดทนและไม่หลุดร่อน
- มีผลิตภัณฑ์หลากหลายสูตรให้เลือกใช้ตามประเภทของกระเบื้อง และการใช้งาน
ข้อเสีย :
- ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น เกรียงร่องหวีตามขนาดกระเบื้องที่เลือกใช้, สว่านปั่นปูน เพื่อให้ผสมเนื้อปูนได้ละเอียด ไม่เป็นก้อน
- ควรทำตามขั้นตอนการผสมปูน ตามที่ระบุข้างถุง อย่างละเอียดครบถ้วนเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
การติดกระเบื้องแบบแห้ง หรือการปูกระเบื้องแบบขุยหนู
เป็นการปูกระเบื้องที่ได้รับความนิยมสำหรับช่างท้องถิ่น หรือในพื้นที่ต่างจังหวัด เนื่องจากสะดวก และประหยัด ใช้ปูนผสมทรายในการปูกระเบื้อง ซึ่งมีขั้นตอนการปูดังนี้
ขั้นตอนการปู
- เตรียมพื้นผิวบริเวณที่จะปูกระเบื้องให้สะอาด
- ผสมปูนในลักษณะที่ไม่เหลวหรือข้นจนเกินไป
- ใช้เกรียงตักปูนโปะลงบนพื้นผิวที่ต้องการวางกระเบื้อง
- วางกระเบื้องลงแล้วกดให้แน่น โดยใช้ค้อนยางเคาะให้อยู่ในระนาบเดียวกัน
ข้อดี
- ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องการเครื่องมือเฉพาะเป็นพิเศษ
- เหมาะกับการปูกระเบื้องขนาดเล็กในพื้นที่จำกัด
- ช่วยปรับระดับกระเบื้องได้ง่ายในกรณีพื้นที่ไม่เรียบ
ข้อเสีย
- มีโอกาสเกิดโพรงอากาศใต้กระเบื้องสูง ซึ่งอาจทำให้กระเบื้องแตกหรือหลุดได้ในอนาคต
- อาจทำให้ค่าการยึดเกาะไม่สม่ำเสมอ ส่งผลเรื่องการลดความแข็งแรงคงทนของกระเบื้อง
การติดกระเบื้องแบบซาลาเปา
คือการผสมปูนกาวซีเมนต์ แล้วนำมาโปะลงบนหลังกระเบื้องหรือบริเวณพื้นที่ที่ต้องการปู โดยวิธีนี้ช่างบางคนนิยม เพราะรวดเร็ว ประหยัดเวลา แต่นับว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อการหลุดร่อนของกระเบื้องสูง
ขั้นตอนการปู
- ทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบร้อย
- ผสมปูนกาวซีเมนต์ให้มีลักษณะข้น
- โปะปูนเป็นก้อนกลมใหญ่ (เหมือนซาลาเปา) เป็นจุดๆ บริเวณหลังกระเบื้อง หรือบริเวณพื้นผิวที่ต้องการติดกระเบื้อง
- วางกระเบื้องลงบนก้อนปูนแล้วกดให้กระเบื้องติดพื้น
- ตรวจสอบระดับความเรียบของกระเบื้องและปรับด้วยมือหรือค้อนยาง
ข้อดี
- ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องเตรียมพื้นผิวมาก
- เหมาะสำหรับการปูกระเบื้องในพื้นที่ไม่เรียบ เช่น พื้นผิวขรุขระ
ข้อเสีย
- โอกาสเกิดโพรงอากาศสูงมาก ซึ่งอาจทำให้กระเบื้องแตกร้าว
- การยึดเกาะของกระเบื้องไม่ดีพอในพื้นที่ที่รับน้ำหนักมาก
- ไม่เหมาะกับการปูกระเบื้องขนาดใหญ่